วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศูนย์การเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยและตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


ศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทอง

นโยบาย ของศูนย์
1. สนองพระราชดำริ ที่พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามงานในพื้นที่และในโอกาสที่มีพระราชดำริที่เกี่ยวข้องในวโรกาสอื่น ๆ
2. ดำเนินงานศึกษา ทดลอง วิจัย การพัฒนาพื้นที่ที่มีปัญหาตามแนวพระราชดำริ พร้อมทั้งดำเนินการหาวิธีการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดำเนินการ
3.  ประสานงานการดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างบูรณาการ และครบถ้วน
4. ถ่ายทอดกระบวนการองค์ความรู้ที่ได้รับจากกการศึกษา วิจัย ตามแนวพระราชดำริไปสู่งานขยายผลในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ และประชาชนอย่างยั่งยืน
5.  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการในรูปแบบต่าง ๆ แก่บุคคลทั่วไป พร้อมทั้งจัดการเผยแพร่ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ ในการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวอย่างยั่งยืนของประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
เกษตร และประชาชนทั่วไป
แหล่งที่มาของศูนย์

   ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - ตุลาคม 2524 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแปร พระราชฐาน มาประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ และพระราชดำรัสกับ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ องคมนตรี นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายวารินทร์ บุษบรรณ เกษตรจังหวัด นราธิวาส นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง สรุปความว่า
           “...ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขัง ตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดประมาณ แสนไร่ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่หมดแล้วยังยากที่จะ ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้นเห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษา และพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบ ผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนา พื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป...
          การดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจาก พระราชดำริจึงเริ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารบันทึกที่พระราชทานแก่ สำนักงาน กปร. มีความตอนหนึ่งว่า
         “ ...เดือนมกราคม 2525 เริ่มดำเนินการตั้ง ศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองฯ และสร้างอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน” สร้างเสร็จ 2526 (ความจุ 2,250,000 ลูกบาศก์เมตร)...
           หลังจากที่ได้พระราชทานพระราชดำริแล้ว ได้มีการประชุมร่วมกัน ระหว่างจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานเลขานุการ กปร. ในสมัยนั้น โดยมี หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบาย และจัดตั้งโครงการศูนย์ศึกษาขึ้น โดยใช้ชื่อ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” สำนักงานเลขานุการ  กปร. (สำนักงาน กปร. ในขณะนั้น) ได้นำนโยบายดังกล่าวไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาปัญหาในพื้นที่ และความเป็นไปได้ของโครงการ รวมทั้งวาง แนวทางในการดำเนินงานโครงการโดยยึดพระราชดำริเป็นแนวทาง เพื่อสรุปเป็นข้อเสนอโครงการขออนุมัติจาก กปร.ซึ่งต่อมา กปร.อนุมัติ หลักการในการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เมื่อวันที่ 6มกราคม พ.ศ. 2525 โดยสำนักงาน  กปร. เป็นผู้ประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงาน และจัดทำ แผนแม่บทใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานพัฒนาต่อไป
           นับแต่นั้นเป็นต้นมา ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมา จากพระราชดำริ ได้ดำเนินการสนอง พระราชดำริในเรื่องต่างๆ โดยเน้นการ ศึกษา ทดลอง และพัฒนาการใช้ ประโยชน์จากพื้นที่พรุ เพื่อนำผลการ ศึกษา ทดลองที่ประสบผลสำเร็จไป ขยายผล โดยมีเป้าหมายสุดท้ายของ การพัฒนา คือ การพัฒนาคนให้ สามารถดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกิน และพึ่งตนเองได้เป็นหลัก
แหล่งข้อมูลจาก :   http://www.pikunthong.com/



  ตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ชื่อศูนย์ทรัพยาการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
1.              แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์



    
   2.   โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด


ชื่อศูนย์ทรัพยาการเรียนรู้ หอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
1. แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/?page_id=2288



                   2.   โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด
เป็นแบบ Line and Staff Organization เพราะ
เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสาหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลาพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดาเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทางานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดาเนินการนั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น