วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 10-11


1. โครงสร้างองค์กรหมายถึงอะไร
       การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย

2. องค์กรแบบมีชีวิต หมายถึงอะไร
       1.1 โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
      1.2 มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
      1.3 มีการทำงานเป็นทีม(Team Work) ร่วมมือกัน
      1.4 เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎ ระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จาเป็น ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน
      1.5 การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา

3. กระบวนการจัดการแบบ 5s Model มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      กระบวนการจัดการองค์กร 5s หมายถึง การจัดระเบียบของการทำงานในลักษณะขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย Small, Smart, Smile, Simplify, Smooth 
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เทคนิควิธีการออกแบบองค์การให้เป็นองค์การสมัยใหม่ (5S Model)
1. Small คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คำว่า ฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทำให้เท่ห์ต้องมีISO
มีการประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 ส. , TQA ลักษณะแนวโน้มของโครงสร้างองค์กรในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้ำใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย
1 ) คนทางานมีความสุข2 ) ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข สนุกในงานที่ทามีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทางานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน
4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวกให้สะอาด ทาเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น

4. ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization) หมายถึงอะไร
      องค์การเครือข่ายเป็นผลรวมขององค์การอิสระหลายๆองค์การมาผูกเชื่อมโยงกันที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันหรือความต้องการเดียวกัน
ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization)
      1.          ความยืดหยุ่น Flexible แต่ละองค์การที่มีความหลากหลายที่มารวมตัวกันบางครั้งมาจากหน่วยงานภายในองค์การเดียวกันที่มาเชื่อมโยงกัน /มาจากต่างองค์การ                                                      
       2.           Assemble by brokers อาจมีตัวแทนหรือการoutsource                                                       
       3.          Team –base ทำงานเป็นทีม                                                              
       4.           Flat org. โครงสร้างเป็นแบบแนวราบเน้นการเจรจาประสานงานกันมากกว่าโครงสร้างสายการบังคับบัญชา                                                                                         
       5.         ใช้ IT มาเชื่อมโยงเพื่อการประสานงานหรือรวมกลุ่มหรือประสานงานเป็นไปโดอัตโนมัติ              
       6.            ขอบเขตไม่ชัดเจน

5. แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมีอะไรบ้าง
 1. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
 2. มีการจัดการแบบองค์สมัยใหม่          
                                                                                                                                 
3.ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยเป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7


1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง 
             ส่วนใหญ่มีหน้าที่ในการจัดหา จัดสร้างดำเนินงาน บริการด้านสื่อการเรียนการสอน ข้อสนเทศความรู้วิทยากร และนวัตกรรมต่างๆ อันเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ โดยจะต้องรวบรวมจัดหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการค้นหา จัดให้บริการยืม อีกทั้งจะต้องบำรุงรักษาซ่อมแวมวัสดุการศึกษาดังกล่าวให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมต่อการ ใช้สอยได้ตลอดเวลา ในกรณีที่เกิดปัญหาไม่เข้าใจ หรือผู้ให้บริการมีข้อปัญหาซักถามในด้านความรู้ ข้อสนเทศหรือปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาหารือเพื่อสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมความรู้ให้แก่บุคลากรต่างๆภายในหรือภายนอกสถานศึกษาด้วย ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นหน่วยงานกลางมีหน้าที่บริการสื่อการเรียนการสอนแก่ครูอาจารย์ นักเรียน การบริการนับได้ว่าเป็นหัวใจของงานในหน้าที่ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ซึ่งงานบริการนี้ส่วนใหญ่จะควบคู่ไปกับกิจกรรมอื่นๆด้วย

     งานบริการและกิจกรรมของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ไว้ดังนี้ 
     1. การเลือก จัดหา การลงทะเบียน ทำบัตรรายการ การบริการการใช้ ตลอดจนเก็บบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ
     2. การผลิตสื่อการสอน เช่น ผลิตวัสดุกราฟิก การบันทึกเสียง ท ารายการวิทยุและโทรทัศน์
     3. จัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การฝึกอบรมครูประจำการ การวิจัย การจัด นิทรรศการ ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
     4. การบริหาร เช่น การจัดบุคลากร การนิเทศ การบันทึกรายการ การติดต่อ ประสานงานและการทำงบประมาณ เป็นต้น
     5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ


  2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
        1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำการจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อ ประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบ

          2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก นอกจากนั้นแล้วด้านการบริการยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสำรวจและจัดหา จัดเก็บแยกหมวดหมู่ และจัดทำทะเบียนบัญชีสื่อ รวมทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงสื่อด้วย โดยมีฝ่ายที่รับผิดชอบ 

          3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ เป็นต้น  นอกจากนั้นแล้วฝ่ายวิชาการยังต้องวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษาทั่วไปและวิจัยสื่อรวมถึงการพัฒนาสื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน ฉะนั้นบุคลากรฝ่ายนี้จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความชำนาญทั้งด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและมีความรู้เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้ซึ่งรับผิดชอบได้แก่ นักวิชาการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและเป็นผู้ช่วยในการวิจัยสื่อต่างๆ ร่วมถึงเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นักวิจัย มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาสื่อร่วมกับนักวิชาการโสตทัศนศึกษา และเป็นผู้ออกแบบในการวิจัยรวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยสื่อ

         4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจำเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

         5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่งฉะนั้น เห็นได้ว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละสถาบันจะมีบุคลากรรับผิดชอบในแต่ละภารกิจจำนวนเท่าไรย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายในการจัดตั้งศูนย์ฯ จำนวนผู้ขอใช้บริการ ขอบเขตของภารกิจและงานที่ปฏิบัติงบประมาณหรือเงินทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ

   3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สำคัญได้กี่ประเภท
แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
               1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff)ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร  การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ 8 อำนวยการประสานเกี่ยวกับสื่อ และอำนวยการให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

               2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ ( Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ 

               3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ ( Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจำนวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จำนวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสำคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
                ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่
      1. การสำรวจสื่อวัสดุ (Materials)การสำรวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
            - ชนิดของวัสดุ
            - ชื่อเรื่อง
            - แหล่งที่เก็บ (Location)
            - แหล่งที่ได้มา
            - สภาพการใช้งานปัจจุบัน
      2. การสำรวจเครื่องมือ (Equipments)
            - ชนิดของเครื่องมือ
            - แบบ/รุ่น
            - แหล่งที่เก็บ
            - แหล่งที่ได้มา การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ 11  การประเมินค่าโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการบริการ
            - จำนวน
            - สภาพการใช้งานปัจจุบัน
  
               ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง

              ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอการสำรวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
                  1. การสัมภาษณ์ ซักถามเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
                  2. การสังเกต เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ต้องการข้อมูลสามารถนำมาใช้เพื่อเก็บข้อมูลโดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม
                  3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสำรวจที่ได้รายละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ

             ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลำดับความสำคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่


 5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง

        สามารถกระทำได้ 5 วิธี คือ
              1. วิธีตกลงราคา
              2. วิธีสอบราคา
              3. วิธีประกวดราคา
              4. วิธีพิเศษ
              5. วิธีกรณีพิเศษ

     วิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 50 ,000 บาท มีวิธีการคือ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุต่อรองและตกลงราคากับผู้ขาย แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ
     
     วิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
การซื้อโดยวิธีสอบราคาให้ดำเนินการ ดังนี้
   1. หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการการเปิดซองสอบราคาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
   2. ก่อนวันเปิดซองไม่น้อยกว่า 7 วัน ให้หัวหน้าส่วนราชการปิดใบแจ้งสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้น กับให้ส่งใบแจ้งสอบราคา ดังกล่าวไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เสนอราคาเป็นหนังสือผนึกซองยื่นต่อเจ้าหน้าที่พัสดุโดยตรง หรือโดยผู้แทนซึ่งได้รับมอบหมายหนังสือภายในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
   3. ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรับซองใบเสนอราคาที่ยื่นมาทุกรายโดยไม่เปิดซอง เมื่อครบกำหนดแล้วให้ส่งมอบซองใบเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองใบเสนอราคาจากผู้หนึ่งผู้ใดอีก
   4. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เปิดซองใบเสนอราคาโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ยื่นซองหรือผู้แทนและตรวจ

 วิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 1,000,000  บาท มี วิธีดำเนินการดังนี้
       1. หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการ ดังนี้
              1.1 คณะกรรมการรับซองประกวดราคาและเปิดซอง
              1.2 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
              1.3 คณะกรรมการตรวจรับวัสดุ
       2. ให้ปิดประกาศหรือใบแจ้งประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้นและประกาศทางวิทยุกระจายเสียงหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ของทางราชการหากเห็นควรจะส่งประกาศหรือใบแจ้งประกวดราคาดังกล่าว ไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือจะโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ การดำเนินการจะต้องกระทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่ร้อยกว่า 15 วัน
       3. การรับซองประกวดราคากระทำได้ วิธี คือ
              จัดตู้ทึบหรือหีบทึบมีช่องสำหรับสอดซองประกวดราคาไว้ ณ ที่ทำการของผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง
ตั้งกรรมการรับซองประกวดราคา
       4. เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองประกวดราคาแล้ว ให้ส่งมอบตู้หรือหีบบรรจุซองประกวดราคาและเอกสารหลักฐานต่างๆพร้อมด้วยบันทึกรายงานรับซองประกวดราคาต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา
       5. คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา โดยเปิดซองประกวดราคาอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้เข้าประกวดราคาหรือผู้แทน
       6. คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตาล็อค หรือรูปแบบและรายละเอียดแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขใบแจ้งประกวดราคา
       7. พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อ
ทางราชการและเสนอราคาต่ำสุด

    วิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 50 ,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีใดดังต่อไปนี้
       1. เป็นพัสดุขายทอดตลาด
       2. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นองค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ
       3. เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ
       4. เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
       5. เป็นพัสดุที่ต้องซื้อโดยตรงต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
       6. เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง
       7. เป็นพัสดุที่ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
       8. เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและ/หรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง

การซื้อโดยวิธีพิเศษมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
      1. ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการเป็นกรณีไป เช่น กรณีที่ต้องจัดซื้อเร่งด่วนหากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรก็ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
       2. เมื่อดำเนินการแล้วได้ผลประการใดให้คณะกรรมการเสนอรายงานพร้อมด้วยความเห็นต่อส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อการต่อไป

    วิธีกรณีพิเศษ ได้แก่การซื้อในกรณีต่อไปนี้
       1. การซื้อจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ทำหรือผลิตวัสดุนั้นๆ ขึ้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้างได้เป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะคราว
       2. การซื้อทีมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องซื้อจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ

         *การส่งซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษให้หัวหน้าส่วนราชการสั่งซื้อจากส่วนราชการหน่วยงาน
อื่นได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ


ประเภทและหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้
1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
     จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์
      มีชื่อเรียกว่า สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทางด้านการศึกษา


2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว
       - กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน
       - ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ 
       - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
       - เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
       - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
       - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
       - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ ราคาไม่แพงเกินไป
       - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน


3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
         1. จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ 
               1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
               1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจำหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
               1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
               1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
        2. รับบริจาค  : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล
        3. ผลิตเอง  : วีดิทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ
        4. แลกเปลี่ยน  : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในเครือข่าย

การประสานงานและการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน

          สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
       1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง   
.การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็น ต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
.การแบ่งตามหน้าที่
.การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
      2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน          
      3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
                เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
ก      ก.แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
.รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
.เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายใน โรงพิมพ์ เป็นต้น 
     4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
                การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดย สมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
     5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

          เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล

        จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
การประสานงานต้องความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทาให้การติดต่อประสานงานที่ควรดาเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้ ต้องมีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถอย่างแท้จริง มีแบบแผนในการทำงาน ต้องไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกัน  การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงานได้ และประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น


    การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

การรายงานผล ทำให้ทราบทั้งวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ เนื้อหาของรายงาน วิธีการดำเนินงาน การสรุปผล การให้ข้อเสนอแนะ ทำให้มีผลดีต่อการจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ เพราะทำให้เห็นว่ามีการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนมีรายงานอย่างชัดเจน การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

การบ้านสัปดาห์ที่ 4 (ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้)


การบ้านสัปดาห์ที่ 4 (ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้)

      1.  ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง
การบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

   2.  การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
มี ประเภท
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์


     3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง
ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคตการขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต,บทบาทของรัฐบาลบทบาทสหภาพแรงงานการแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การวางแผนกำลังคนมี ขั้นตอนคือ 
ขั้นตอนที่ ขั้นสำรวจนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศ 
ขั้นตอนที่ ขั้นประเมินสถานการณ์กำลังคนในปัจจุบัน 
ขั้นตอนที่ ขั้นศึกษาขนาดความต้องการกำลังคนและอุปทานกำลังคน เพื่อวิเคราะห์ดุลยภาพ 
ขั้นตอนที่ ขั้นวางนโยบายและมาตรการกำลังคน 

    4. การวางแผนกำลังคนที่ดีมีอะไรบ้าง
1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จาเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน (จิ๋วแต่แจ๋วเล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา

5. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1. ความเป็นผู้นำ ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นา 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
2. การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอานวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจาเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทางาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคาถามก่อนว่า “พอมีเวลาหรือไม่” หรือ “คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
3. การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอานวยการดาเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอานวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อานวยการจึงต้องทาให้เกิดความสมดุลกัน

6. ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
โดยวาจา
โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1. ทำบันทึกข้อความ
2. หนังสือเวียน
3. คาสั่ง
4. ประกาศ


7. รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
1.คำสั่งแบบบังคับ
2.คำสั่งแบบขอร้อง
3.คำสั่งแบบแนะนาหรือโดยปริยาย
4.คำสั่งแบบขอความสมัครใจ

8. การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
ต้องชัดเจน
ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
ใช้นำเสียงให้เป็นประโยชน์
วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
ลดคำสั่งที่มีลักษณะ “ห้าม” การกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คาสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคาสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง

9. ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร

ในการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คือการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานภายในองกรณ์ต้องผ่านการคัดเลือกเข้ามา เพื่อจะได้คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เข้ากับตำแหน่งที่จะทำ